หมวดที่ 3 การเล่น

«« ก่อนหน้า ถัดไป »»

1. คำจำกัดความ

เกมสนุ้กเกอร์อาจจะเล่นโดยมีผู้เล่น 2 คนหรือมากกว่า เล่นได้ทั้งเป็นฝ่ายหรือเดี่ยว การเล่นนี้สรุปได้ย่อๆ ดังนี้

A. ผู้เล่นทุกคนใช้ “ลูกแทง” สีขาวลูกเดียวกัน และมีลูกเป้ารวม 21 ลูก ลูกแดง 15 ลูก ลูกแดงทุกลูกมีค่าเท่ากับ 1 แต้ม และลูกสี 6 ลูก ลูกเหลืองมีค่า 2 ลูกเขียว 3 ลูกน้ำตาล 4 ลูกน้ำเงิน 5 ลูกชมพู 6 และลูกดำ 7
B. การแทงทำแต้มในทุกเที่ยวแทงเกิดขึ้นจากตบหลังลูกแดงและลูกสีสลับกันไป จนกระทั่งลูกแดงหมดไปจากโต๊ะ จึงเล่นตบหลังลูกสีตามลำดับจากแต้มน้อยไปหามาก
C. แต้มที่ทำได้จากการแทงจะนำไปบวกให้กับ “ผู้แทง”
D. แต้มที่ถูกทำโทษจากการ “ฟาวล์” จะนำไปบวกให้กับคู่ต่อสู้
E. กลวิธีที่ใช้ในการเล่นระหว่างเฟรมคือการวาง “ลูกแทง” ไว้หลังลูกที่ไม่ใช่ลูกในเที่ยวแทง นั่นคือการทำ “สนุ้กเกอร์” กับผู้เล่นคนถัดไป ถ้าผู้เล่นหรือฝ่ายใดมีแต้มตามหลังมากกว่าแต้มที่เหลือยู่บนโต๊ะ การวาง “สนุ้กเกอร์” เพื่อความหวังที่จะได้รับแต้มจากการทำ “ฟาวล์” ของคู่ต่อสู้ จึงกลายเป็นความสำคัญอย่างที่สุด
F. ผู้ชนะในเฟรมหนึ่งคือ ผู้เล่นหรือฝ่ายที่
1. ทำแต้มสูงที่สุด
2. ผู้ที่ได้รับการยอมแพ้ในเฟรมนั้น
3. ได้รับการตัดสินให้ตามกติกาหมวด 3 ข้อ 14 (C) หรือหมวด 4 ข้อ 2
G. ผู้ชนะในเกมหนึ่งคือผู้เล่นหรือฝ่าย
1. ผู้ชนะมากเฟรมที่สุดในจำนวนเฟรมตามที่ต้องการ
2. ทำแต้มรวมทั้งสิ้นได้มากที่สุด เมื่อเล่นแบบนับแต้มของทุกๆ เฟรม
3. ผู้ที่ได้รับการตัดสินให้ตามกติกาหมวด 4 ข้อ 2
H. ผู้ชนะในแมตช์หนึ่งคือผู้เล่นหรือฝ่ายที่มีเฟรมชนะมากที่สุดคือการแข่งขันแบบแต้มรวม ด้วยการทำแต้มรวมทั้งสิ้นได้มากที่สุด

2. ตำแหน่งของลูกต่างๆ

A. ในตอนเริ่มต้นของแต่ละเฟรม ลูกแทงจะเล่นจาก “ลูกในมือ” ลูกเป้าต่างๆ จะถูกตั้งบนตำแหน่งต่อไปนี้
1. ลูกแดง วางเป็นกลุ่มแน่นอยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยมีลูกแดงลูกยอดอยู่ในแนวกลางโต๊ะเหนือจุดปิรามิด ใกล้ลูกชมพู่เท่าที่จะใกล้ได้ และฐานของสามเหลี่ยมต้องขนานกับคุชชั่นบน
2. ลูกเหลือง บนมุมขวามือของครึ่งวงกลม
3. ลูกเขียว บนมุมซ้ายมือของครึ่งวงกลม
4. ลูกน้ำตาล บนกึ่งกลางของเส้นเมือง
5. ลูกน้ำเงิน บนจุดเซ็นเตอร์
6. ลูกชมพู บนจุดปิรามิด และ
7. ลูกดำ บนจุดสปอต
B. หลังจากเฟรมได้เริ่มต้นไปแล้ว ลูกที่อยู่ในการเล่นจะได้รับการทำความสะอาดโดยผู้ตัดสินด้วยคำขอที่สมเหตุสมผลของผู้แทง
1. ตำแหน่งของลูกที่ไม่ใช่ลูกตั้งจุด ก่อนที่จะหยิบลูกขึ้นมาทำความสะอาด ต้องมีการทำเครื่องหมายด้วยสิ่งประดิษฐ์ที่เหมาะสม
2. สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งของลูกที่จะทำความสะอาดนั้น ถือว่า เป็นเสมือนลูกและมีค่าเท่ากับลูกนั้น จนกว่าจะนำลูกกลับไปตั้งที่จุดเดิมแล้ว หากผู้เล่นที่ไม่ใช่ผู้แทงจะไปสัมผัสหรือรบกวนสิ่งประดิษฐ์นี้ เขาจะถูกทำโทษเท่ากับผู้แทง โดยไม่มีผลต่อลำดับการแทง ผู้ตัดสินจะเก็บสิ่งประดิษฐ์และนำลูกที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ไว้ในตำแหน่งที่มันอยู่ตามความเห็นของผู้ตัดสิน

3. วิธีการเล่น

ผู้เล่นจะเลือกลำดับการเล่นจากการเสี่ยงทาย หรือตกลงยินยอมกันเอง

A. ลำดับการเล่นที่เลือกมาได้นั้นจะคงไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเฟรม ยกเว้นผู้เล่นคนหนึ่งอาจถูกขอร้องให้เล่นอีกภายหลังการ “ฟาวล์” ต่างๆ
B. ผู้เล่นหรือฝ่ายจะสลับกันแทงเปิดเฟรมของทุกๆ เฟรมในระหว่างเกม
C. ผู้เล่นคนแรกเล่นจาก “ลูกในมือ” เฟรมเริ่มต้นเมื่อลูกแทงได้ถูกวางบนโต๊ะและถูกแทงด้วยส่วนหัวคิวดังนี้คือ
1. เมื่อแทงอย่างถูกต้อง
2. หัวคิวสัมผัสกับลูกแทงขณะจรดคิว (ฟาวล์)
D. การแทงจะถือว่าถูกต้อง ต้องไม่มีการฝ่าฝืนกติกาตามที่ได้ระบุไว้ในข้อ 12 ในหมวดนี้
E. การแทงครั้งแรกของแต่ละเที่ยวแทงเมื่อลูกแดงยังไม่หมดโต๊ะ ลูกแดงหรือลูกฟรีบอลที่เลือกแทงแทนลูกแดงจะเป็นลูกในเที่ยวแทง และค่าของลูกแดงแต่ละลูกกับลูกฟรีบอลที่เลือกแทนแดงถูกตบหลังในการแทงไม้เดียวกัน จะได้แต้มทุกลูก
F.

1. เมื่อลูกแดงหรือลูกฟรีบอลที่เลือกแทงแทนแดงถูกตบหลังลงหลุม ผู้เล่นคนเดิมเล่นต่อ ลูกในเที่ยวแทงต่อไปคือลูกสีที่ผู้แทงเลือก หากถูกตบหลังลงหลุมไปจะได้แต้มและกลับขึ้นมาตั้งจุด
2. เบรคจะดำเนินต่อไปด้วยการตบหลังลูกแดงและลูกสีสลับกัน จนเมื่อลูกแดงลูกสุดท้ายได้ถูกตบหลังลงหลุม ลูกสีลูกใดลูกหนึ่งจะมีโอกาสถูกแทงเพื่อให้ครบสิทธิ์
3. ลูกสีจะเริ่มมาเป็นลูกในเที่ยวแทงตามลำดับจากค่าน้อยไปหามาก ตามกติกาหมวดที่ 3 ข้อ 1 (A) เมื่อลูกสีถูกตบหลังลงหลุมจะไม่นำมาตั้งจุดอีก เว้นแต่ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4 ข้างล่างนี้ และผู้แทงคนต่อไปจะแทงลูกสีที่เป็นลูกในเที่ยวแทงต่อไป
G. ลูกแดงจะไม่นำกลับมาตั้งใหม่เมื่อได้ลงหลุมไปแล้ว หรือเป็นลูกตกโต๊ะ โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้เล่นอาจจะได้ประโยชน์จากการฟาวล์นี้ ยกเว้นได้กำหนดไว้ในหมวด 3 ข้อ 2 (B) (2), 9,14 (F),14 (H) และ 15
H. ถ้าผู้เล่นทำแต้มไม่ได้หรือทำฟาวล์จะหมดเที่ยวแทง ผู้เล่นคนต่อมาจะแทงจากจุดที่ลูกหยุด หรือเล่นลูกขาวจากในมือในกรณีที่ลูกขาวอยู่นอกโต๊ะ

4. การสิ้นสุดของเฟรม, เกมหรือแมทช์

A. เมื่อเหลือลูกดำลูกเดียวบนโต๊ะ การทำคะแนนได้หรือทำ “ฟาวล์” เป็นอันสิ้นสุดของเฟรม ยกเว้นเมื่อมีคะแนนเท่ากัน
B. เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อ (A) ข้างบนนี้
1. ลูกดำจะถูกตั้งจุด
2. ผู้เล่นเสี่ยงทายเลือกเล่น ผู้ชนะเสี่ยงทายจะเลือกที่จะเล่นก่อนหรือไม่เล่น
3. ผู้เล่นถัดไปเล่นลูกจากในมือ
4. แต้มที่ทำได้หรือฟาวล์เป็นอันสิ้นสุดเฟรม
C. การเล่นแบบใช้คะแนนรวมหาผู้ชนะของเกมส์หรือแมชท์ เมื่อแต้มมาเท่ากันในเฟรมสุดท้ายผู้เล่นในเฟรมนั้นจะต้องเล่นตามรายละเอียดในข้อ (B)

5. การเล่นลูกในมือ

การเล่นลูกในมือ ลูกแทงจะถูกแทงจากบนเส้นหรือภายในครึ่งวงกลม (D) โดยจะแทงไปได้ทุกทิศทาง

A. ผู้ตัดสินจะบอกถ้าถูกถามว่าลูกแทงวางถูกต้องหรือไม่
B. ถ้าหัวคิวไปถูกลูกแทงขณะใช้คิวตั้งลูก ผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นไม่มีความตั้งใจที่จะแทงลูกแทงยังไม่เป็นลูกอยู่ในการเล่น

6. ลูกแทงกระทบลูกเป้าพร้อมกัน

ลูกสองลูกที่ไม่ใช่ลูกแดงหรือลูกฟรีบอลกับลูกในเที่ยวแทง จะถูกกระทบโดยลูกแทงพร้อมกันนั้นไม่ได้

7. การตั้งลูกสี

ลูกสีใดที่ลงหลุมไปหรือถูกทำตกโต๊ะจะนำมาตั้งจุดก่อนจะมีการแทงในไม้ต่อไป จนกระทั่งมีการตบลูกสีสุดท้ายตามกติกาหมวด 3 ข้อ 3 (F)

A. ผู้เล่นจะไม่ต้องรับผิดชอบกับการตั้งลูกไม่ถูกต้องของผู้ตัดสิน
B. ถ้าผู้ตัดสินตั้งลูกไม่ถูกต้อง เมื่อตรวจพบผู้ตัดสินจะนำลูกมาตั้งใหม่ โดยไม่มีการปรับโทษใดๆ การเล่นดำเนินต่อไป
C. เมื่อการแทงเกิดขึ้นขณะที่ลูกสีหนึ่งลูกหรือหลายลูกตั้งจุดไม่ถูกต้อง ให้ถือว่าเป็นการตั้งจุดถูกต้องแล้ว สำหรับการแทงครั้งต่อไป ลูกสีใดที่ลืมตั้งจุดจะนำมาตั้งจุด
1. ไม่มีการปรับโทษใดๆ เมื่อพบว่าการผิดพลาดเกิดขึ้นก่อน
2. สามารถปรับโทษได้ถ้าผู้แทงเล่นก่อนที่ผู้ตัดสินจะตั้งลูกเสร็จ
D. ถ้าจุดของลูกสีนั้นไม่ว่าง จะนำไปตั้งจุดที่มีค่าสูงที่สุดที่ว่างอยู่
E. ถ้ามีลูกสีที่จะต้องตั้งจุดมากกว่า 1 ลูก และจุดของมันไม่ว่าง ลูกสีที่มีค่าสูงสุดจะถูกตั้งก่อน ส่วนที่เหลือไล่ตามค่ามากไปหาน้อย
F. ถ้าจุดทุกจุดไม่ว่าง ลูกสีจะถูกตั้งใกล้จุดตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จากคุชชั่นบน
G. ในกรณีตั้งลูกชมพูและลูกดำ ถ้าจุดทุกจุดไม่ว่างและไม่มีที่ว่างระหว่างจุดของมันและคุชชั่นบน ลูกจะถูกวางใกล้จุดของมันที่สุดทางด้านล่างในแนวกึ่งกลางโต๊ะ
H. ในกรณีลูกสีที่ตั้งจุดจะต้องไม่สัมผัสกับลูกใดๆ
J. ลูกสีจะถูกนำมาตั้งอย่างถูกต้องด้วยมือเท่านั้น

8. ลูกติด

A. ถ้าลูกแทงติดกับลูกใดลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกในเที่ยวแทงหรืออาจเป็นลูกในเที่ยวแทงผู้ตัดสินจะประกาศว่า “ลูกติด” และชี้ว่าลูกใดเป็นลูกติดกับลูกแทง
B. เมื่อผู้ตัดสินขานว่า “ลูกติด” ผู้แทงจะต้องแทงลูกแทง “จาก” โดยไม่ทำให้ลูกติดเคลื่อนไหว มิฉะนั้น จะถือว่าเป็นไม้ยาว
C. หากว่าผู้แทงไม่ได้ทำให้ลูกเป้าเคลื่อนไหว จะไม่มีการทำโทษถ้า
1. เป็นลูกในเที่ยวแทง
2. เป็นลูกที่อาจจะเป็นลูกในเที่ยวแทงและผู้แทงเลือกให้เป็นลูกในเที่ยวแทง
3. เป็นลูกที่อาจจะเป็นลูกในเที่ยวแทงแต่ผู้แทงระบุลูกอื่น
D. ลูกแทงมาติดหรือเกือบติดกับลูกที่ไม่ใช่ลูกในเที่ยวแทง หากถูกถามว่าลูกนั้นติดหรือไม่ ผู้ตัดสินจะต้องตอบ “ติด” หรือ “ไม่ติด” และผู้แทงแทงลูกแทงจากลูกนั้น โดยไม่ได้ทำให้เคลื่อนไหว แต่ต้องแทงถูกลูกในเที่ยวแทงก่อน
E. เมื่อลูกแทงติดกับลูกในเที่ยวแทงและลูกที่ไม่ใช่ลูกในเที่ยวแทง ผู้ตัดสินจะชี้ให้ทราบเฉพาะลูกในเที่ยวแทงเท่านั้น ถ้าผู้แทงถามกรรมการผู้ตัดสินว่าลูกที่ไม่ใช่ลูกในเที่ยวแทงนั้นติดด้วยหรือไม่ ผู้ตัดสินจะต้องตอบ
F. ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่าการเคลื่อนไหวของลูกติดไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้แทง จะไม่ถือเป็นการทำฟาวล์
G. ในกรณีตั้งลูกชมพูและลูกดำ ถ้าจุดทุกจุดไม่ว่างและไม่มีที่ว่างระหว่างจุดของมันและคุชชั่นบน ลูกจะถูกวางใกล้จุดของมันที่สุดทางด้านล่างในแนวกึ่งกลางโต๊ะ
H. เมื่อผู้ตัดสินตรวจดูแล้วว่าลูกแทงไม่ได้ติดกับลูกเป้า แต่ต่อมาลูกเคลื่อนไปติดกันก่อนที่จะมีการแทง ผู้ตัดสินจะนำกลับไปตั้งที่เดิม

9. ลูกอยู่บนขอบปากหลุม

A. เมื่อลูกใดตกลงหลุมไปโดยไม่ได้ถูกกระทบจากลูกหนึ่งลูกใดและไม่มีส่วนกับการแทงในไม้นั้น จะนำกลับมาตั้งที่เดิม และจะได้แต้มที่ทำมาแล้วทั้งหมด
B. อาจจะถูกกระทบโดยลูกที่เกี่ยวข้องในการแทงในไม้นั้น
1. ถ้าไม่มีการฝ่าฝืนกติกา ลูกทุกลูกจะนำกลับมาตั้งใหม่ โดยจะแทงรูปแบบเดิม หรือจะแทงรูปแบบอื่นๆ ก็ได้สุดแต่ดุลยพินิจของผู้แทงคนเดิม
2. เมื่อมีการทำ “ฟาวล์” ผู้แทงจะถูกทำโทษปรับแต้มตามที่กำหนดไว้ ลูกทุกลูกนำกลับมาตั้งที่เดิม ผู้เล่นคนถัดไปมีสิทธิ์เลือกเล่นตามปกติ
C. ถ้าลูกในเที่ยวแทงทรงตัวอยู่ขอบปากหลุมชั่วขณะแล้วลงหลุมไป ให้ถือเป็นลูกลงหลุม

10. สนุ้กเกอร์หลังการฟาวล์

ภายหลังการทำฟาวล์ และลูกแทงถูกสนุ้กเกอร์ ผู้ตัดสินจะประกาศให้ “ฟรีบอล” (หมวด 2 ข้อ 16)

A. ถ้าผู้เล่นเลือกที่จะเล่น ผู้เล่นในเที่ยวแทงคนถัดไปเลือกแทงในการแทงไม้ถัดไป
1. เขาอาจจะเลือกลูกใดลูกหนึ่งเป็นลูกในเที่ยวแทง และ
2. ลูกที่เลือกแทงถือว่าเป็นลูกในเที่ยวแทง เว้นแต่ว่าเมื่อถูกตบหลังจะนำกลับมาตั้งจุด
B. จะถือว่าเป็นการ “ฟาวล์” ถ้าลูกแทง
1. ไม่กระทบลูกที่เลือกแทงเป็นลูกแรกหรือไม่ได้กระทบพร้อมกันกับลูกในเที่ยวแทง
2. สนุ้กเกอร์กับลูกแดงทุกๆ ลูกหรือลูกในเที่ยวแทงโดยลูกฟรีบอลที่เลือก ยกเว้นเหลือเพียงลูกชมพูและลูกดำอยู่บนโต๊ะ
C. ถ้าลูก “ฟรีบอล” ถูกตบหลัง จะนำกลับไปตั้งจุดและได้แต้มเท่ากับลูกในเที่ยวแทง
D. ถ้าลูกในเที่ยวแทงถูกตบหลังหลังจากลูกแทงกระทบลูกฟรีบอลก่อนแล้วหรือกระทบพร้อมกัน ได้แต้มตามค่าของลูกในเที่ยวแทงและไม่ต้องนำกลับมาตั้ง
E. ถ้าทั้งลูกฟรีบอลและลูกในเที่ยวแทงถูกตบลงด้วยกัน ได้แต้มเพียงค่าของลูกในเที่ยวแทงเว้นแต่ลูกในเที่ยวแทงเป็นลูกแดง จะได้แต้มตามค่าของลูกทุกลูกที่ลงหลุม ลูก"ฟรีบอล" จะนำมาตั้งจุด ส่วนลูกในเที่ยวแทงไม่ต้องนำกลับมาตั้ง
«« ก่อนหน้า ถัดไป »»
Go to www.cuethong.com